ประวัติโรงพยาบาลเทิง

โรงพยาบาลเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1 (60 เตียง)
สังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กระทรวงสาธารณสุข
เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2482 โดยก่อตั้งเป็นสุขศาลาประจำตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 80 ปี โดยได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง
เพื่อพัฒนาศักยภาพการการให้บริการ และเกิดความเหมาะสมกับภาระหน้าที่ที่ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลง
ทางด้านเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม

พุทธศักราช 2482
ก่อสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว
ก่อตั้งเป็นสุขศาล

ก่อตั้งเป็นสุขศาลา
ประจำตำบลเวียง
อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ก่อสร้างอาคารไม้ชั้นเดียว
บนพื้นที่สำนักงาน-สาธารณสุขอำเภอเทิง
ในปัจจุบัน
ช่วงเวลานั้น มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำ 1 คน

พุทธศักราช 2507
ก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
ก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว

ได้รับงบประมาณจากรัฐ จำนวน 100,000.- บาท
(หนึ่งแสนบาทถ้วน)

ดำเนินการก่อสร้าง
เป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง  โดยก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว 
บริเวณพื้นที่ข้าง
สถานีอนามัยชั้นสองเดิม

พุทธศักราช 2516
เปิดทำการ
เริ่มเปิดให้บริการทางการรักษาพยาบาล

ได้เปิดทำการ
ด้านการรักษาพยาบาลและสาธารณสุข  โดยมีแพทย์หมุนเวียนกันมาให้บริการ

พุทธศักราช 2518
แพทย์คนแรก
แพทย์มาประจำเป็นครั้งแรก

นายแพทย์ชูชัย  คูสุวรรณ์

พุทธศักราช 2519
โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง
เปิดป้าย "โรงพยาบาลเทิง"

ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง  และได้ทำการเปิดป้าย
“โรงพยาบาลเทิง”
ขึ้นอย่างเป็นทางการ

โดยได้รับงบประมาณโครงการพัฒนาท้องถิ่นและเงินบริจาคจากประชาชนสร้างห้องเอกซเรย์
และห้องผ่าตัดเพิ่มเติม

พุทธศักราช 2523
โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง
ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอาคารผู้ป่วยใน

ด้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง
และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอาคารผู้ป่วยใน
บนที่ดินที่ราชพัสดุ
จำนวน 117 ไร่ 27 ตารางวา บ้านตั้งข้าว  ตำบลเวียง  อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก
โรงพยาบาลเดิม 2 กิโลเมตร เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ ไม่เพียงพอสำหรับ
การขยายพื้นที่ให้บริการ

พุทธศักราช 2525
เปิดบริการอย่างเป็นทางการ
เปิดบริการอย่างเป็นทางการ

 ได้เปิดให้บริการ
ด้านการพยาบาล ส่งเสริม ป้องกันโรค
อย่างเป็นทางการ

พุทธศักราช 2539
โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง
การก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน

ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง F1
เพื่อเพิ่มศักยภาพและ
ขยายบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
และมีการก่อสร้างอาคาร
ผู้ป่วยใน (ตึกผู้มีพระคุณ) เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง

โดยเงินบริจาคจาก
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(เกี่ยว อุปเสโน)  
และได้ทำการเปิดให้บริการ เมื่อปี พ.ศ. 2541 
เพื่อรองรับจำนวน
ผู้รับบริการที่เพิ่มมากขึ้น 
และพัฒนาศักยภาพ
การให้บริการของ
โรงพยาบาลให้สูงขึ้น

พุทธศักราช 2555
ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย
ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน

ได้ก่อสร้างอาคาร
ผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน
จำนวน 1 หลัง
ด้วยงบลงทุน UC
จัดสรรระดับจังหวัด 20% 
ปี51 จำนวน 18,061,571บาท
ปี52 จำนวน 16,474,228บาท รวมเป็นเงิน
จำนวน 34,535,799 บาท 

เริ่มเปิดให้บริการ
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
(ความดันโลหิต/เบาหวาน) และอาคารสำนักงาน ปี 2557