ความรู้เรื่องโรค

โรค คือความผิดปกติบางอย่างที่มีผลเสียต่อโครงสร้างและการทำงานของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจมีผลเพียงบางส่วนของสิ่งมีชีวิตหรือมีผลทั้งตัว โดยทั่วไปแล้วจะไม่นับรวมการบาดเจ็บจากปัจจัยภายนอก โรคโดยส่วนใหญ่เป็นภาวะทางการแพทย์ ซึ่งทำให้มีอาการและอาการแสดงต่างๆ โรคอาจเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น สารก่อโรค หรือเชื้อก่อโรค หรืออาจเกิดจากปัจจัยภายในก็ได้ เช่น การทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นปัจจัยภายใน สามารถทำให้เกิดโรคได้หลายอย่าง

เล่าเรื่อง "โรค"

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลางและโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้

โควิด-19

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ

โรคเบาหวาน

ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันแพทย์วินิจฉัยว่าในภาวะปกติผู้ที่มีความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม

โรคความดันโลหิต

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) หมายความว่าไตของท่านถูกทำลายและไม่สามารถกรองเลือดได้ตามปกติ และเป็นโรค “เรื้อรัง” เนื่องจากการทำลายที่ไตของท่านเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นระยะเวลานาน การทำลายนี้อาจทำให้เกิดของเสียสะสมในร่างกาย นอกจากนี้ โรคไตเรื้อรังยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย

โรคไตเรื้อรัง

เป็นกลุ่มของโรคปอดอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu) คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส หลายท่านอาจคิดว่าไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้วไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังติดเชื้อหรือถึงแก่ชีวิตได้

ไข้หวัดใหญ่

“โรคอ้วนลงพุง” มีสาเหตุเริ่มต้นจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม กินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล และไขมันสูง ร่วมกับการไม่ออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักมากเกินไป พุงยื่น

โรคอ้วน ลงพุง

โรคหัวใจขาดเลือด มักพบมากในคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี โรคนี้เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ และตับแข็งตัว เนื่องจากมีไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหัวใจค่อยๆ ตีบลงจนถึงอุดตัน

โรคหัวใจและหลอดเลือด

องค์การอนามัยโลกแจ้งว่า 35.6 ล้านคนของประชากรโลกเป็นโรคสมองเสื่อม และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2573 หรือประมาณ 65.7 ล้านคน เนื่องจากในปัจจุบันพฤติกรรมการการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยที่พัฒนาขึ้น มีเครื่องมือที่ช่วยลดทอนการทำงานให้ง่ายขึ้น เป็นต้น

โรคอัลไซเมอร์

เอชไอวี HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคน คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ (CD4 cells) หรือ ทีเซลล์ (T cells) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ เมื่อเชื้อไวรัส HIV ทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 จนมีปริมาณไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เอชไอวี

เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยและถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ

วัณโรค

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุอารมณ์ซึมเศร้า อาจเริ่มต้นจากน้อยๆ ไปหามาก ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ไม่แจ่มใส หดหู่ เศร้าหมอง มีทุกข์ จนถึงเบื่อหน่าย ท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไร้ค่า คิดอยากตาย และอาจจะฆ่าตัวตายได้